วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันโอโซนโลก


ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น
เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน 3 อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ

วันศลป์ พีระสรี

วันที่ 15 กันยายน เป็น วันศิลป พีระศรี  ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri) บุรุษผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย เป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นทั้งศิลปินและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่วงการศิลปะไทย ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิต ผลงาน และแนวคิดของท่านนอกจากจะคงค่าในตัวเองแล้ว ยังสะท้อนภาพหลายประการถึงอุปสรรคของการพัฒนาศิลปะในยุคที่ท่านยังมีชีวิต อยู่
          ปกติแล้ว วันที่ 15 กันยายน ในสมัยที่ศาสตราจารย์ศิลป์ ยังมีชีวิตอยู่ จะถือเป็นวันที่ศิษย์โรงเรียน ศิลปศึกษาทุกคนต่างรอคอย เพราะคือโอกาส การได้ร่วมงานวันเกิด ของผู้เป็นครูศิลป์ ที่บ้านพัก ของท่าน ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน ศาสตราจารย์ศิลป์ จะอยู่ร่วมงาน เล่านิทาน ร้องเพลง และหยอกล้อกับศิษย์ดังปฏิบัติต่อลูกหลาน
          จวบจนปัจจุบัน วิทยาลัยช่างศิลป สำนึกในบุญคุณของท่านผู้ริเริ่มวางรากฐาน และก่อตั้งวิทยาลัย ช่างศิลป จึงได้จัดกิจกรรมรำลึกศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในวันเกิดของท่านคือ วันที่ 15 กันยายน มาตลอดทุกปี และตั้งเป็นวัน "ศิลป์ พีระศรี" เพียงแต่วันนี้ไร้ ร่างเจ้าของวันเกิด เหลือไว้ก็แต่คำสอน และสถานศึกษาศิลปะ ตลอดจนคุณความดีที่ไม่มีใครลืม “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”
 


ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri)  

ประวัติศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
          ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย
      
          เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม เมื่อปีพ.ศ.2441ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับ ปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม

          ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้น รูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติ ราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนาย คอร์ราโด เฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง
      
          เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 เมื่ออายุย่างเข้า32 ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาทค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาในปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆละ 900 บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ

          ท่านได้วางหลัก สูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆส่วนมากสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเพาะ- ช่างได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และ แช่ม แดงชมพู
      
          ผู้ที่มาอบรมฝึกงานกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่ง เสริมช่างปั้นช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
      
          ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทาง ราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป

          ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ.2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขา หนึ่งของชาติ
     
       จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือพระยาอนุมานราชธนดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก ดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับปริญญา ขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
      
          ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะ ที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม
      
          ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติ คือ เป็น ประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับ สมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติ ครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วม สมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคน แรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น

          ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี





วันทรงดนตรีไทย



   

วันที่ 20 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งสำหรับชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระปฐมบรมราชูปถัมภ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แล้ว วันดังกล่าวยังตรงกับ “วันทรงดนตรี” ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีในระหว่างปี 2500-2516 บรรยากาศแห่งความทรงจำที่ประทับใจในครั้งนั้น ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของนิสิตเก่าชา    วันที่ 20 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งสำหรับชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระปฐมบรมราชูปถัมภ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แล้ว วันดังกล่าวยังตรงกับ “วันทรงดนตรี” ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีในระหว่างปี 2500-2516 บรรยากาศแห่งความทรงจำที่ประทับใจในครั้งนั้น ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของนิสิตเก่าชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสืบสาน สู่นิสิตปัจจุบันที่ตั้งใจร่วมกันจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ทุกวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ “วันทรงดนตรี” อยู่คู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดไป
[แก้ไข] ความเป็นมา
        วันทรงดนตรี ถือกำเนิดจาก พระมหากรุณาธิคุณพิเศษที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของจุฬาฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัส แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าทรงเสียพระราชหฤทัยที่ไม่สามารถประทับอยู่ต่อในช่วงเวลาถวายพระสุธารสชาได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ ที่ประชุมจึงพร้อมใจถวายพระพรชัยมงคล และด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ประสูติในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์พระราชทานนามสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ให้มีคำว่า “จุฬา” อยู่ด้วย
        ต่อมาคณะนิสิตได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของขวัญและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตเข้าเฝ้าฯ ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เนื่องจากวันนั้นตรง กับวันศุกร์ ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงดนตรีกับ “วงลายคราม” เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
        ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้นิสิตทำตัวตามสบายไม่เป็นทางการ ให้ถือว่า “อยู่ในบ้านของพระองค์ท่าน” พระองค์ทรงเดี่ยวแซกโซโฟนพระราชทานแก่นิสิต และผู้ขอฟังเพลง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงขอฟังเพลงจากวงดนตรีและให้นิสิตร้องเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” อีกด้วย
        การแสดงดนตรีส่วนพระองค์ในวันนั้นเริ่มเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 18.45 น. นิสิตราว 2,500 คน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนอานันทมหิดลเป็นจำนวน 4,000 บาท หลังจากนั้นจึงพร้อมใจกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วตั้งแถวส่งเสด็จฯ และเปล่งเสียง “ไชโย” ถวายความจงรักภักดี
        ต่อมา ในปี พ.ศ. 2501 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำ “วงลายคราม” ไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร จากนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี เว้นปีที่ทรงมีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย
[แก้ไข] กิจกรรมวันทรงดนตรี
        เพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเผยแพร่และสืบทอดการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในลักษณะวง Big Band ที่หาฟังได้ยาก รวมทั้งรวบรวมเงินสมทบทุนอานันทมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ขึ้นทุกปี
        ในงานจะเริ่มด้วยการบรรยายเรื่อง “พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พร้อมกับเล่าย้อนความทรงจำเกี่ยวกับวันทรงดนตรี นอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการ “วันทรงดนตรี” อีกด้วย ซึ่งการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีเมื่อปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างมาก มีนิสิตเก่าและประชาชนที่สนใจมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง
[แก้ไข] เรื่องเล่าจากความทรงจำวันทรงดนตรี
        สันทัด ตัณฑนันทน์ ประ ธานชมรมดนตรี ส.จ.ม. ปี 2501 เล่าถึงความประทับใจในวันทรงดนตรีในปีนั้นว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานและประทับใจ นิสิตทุกคนตื่นเต้นยินดี เฝ้ารอคอยวันเสด็จพระราชดำเนินด้วยใจจดจ่อ วันเสด็จพระราชดำเนิน น้องใหม่ยืนเข้าแถวรับเสด็จฯ ตั้งแต่ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย จนถึงหน้าหอประชุม นิสิตชายแต่งชุดพระราชทานสวมเสื้อราชปะแตน นิสิตหญิงนุ่งกระโปรงน้ำเงิน สวมถุงเท้าขาว เป็นแถวรับเสด็จฯ ที่งดงามมาก
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เป็นกันเองกับผู้ชมเป็นที่สุด ระหว่างการแสดงดำเนินไป มีผู้ถือพานรับบริจาค เงินสมทบทุนอานันทมหิดล วนเวียนอยู่ในหอประชุมตลอดเวลา ทรงมีรับสั่งว่า “ใครขอเพลงต้องบริจาค มากน้อยไม่เป็นไร เพลงไหนเล่นดีก็จะเล่น ให้ เพลงไหนเล่นไม่ได้ก็จะพยายามเล่น” สร้างความครื้นเครงให้กับผู้เข้าเฝ้าฯ ในวันนั้นเป็นที่สุด
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีรวม 15 ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีได้ และด้วยเหตุที่นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ตลอดจนคณาจารย์เห็นว่า “วันทรงดนตรี” เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯ จึงพร้อมใจกันจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีทุกวันที่ 20 กันยายน เริ่มตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา
        ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ รูปแบบของงานเป็นการขับร้อง และบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเพลงประจำมหาวิทยาลัย โดยนักร้องนักดนตรีวงซี.ยู.แบนด์ พร้อมนักดนตรีรับเชิญกิตติมศักดิ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวงดนตรีสากล ส.จ.ม. หรือวงซี.ยู.แบนด์ในปัจจุบัน ตลอดจนนักร้องรับเชิญซึ่งเคยเฝ้ารับเสด็จฯ ในงานวันทรงดนตรีในอดีตมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสืบสาน สู่นิสิตปัจจุบันที่ตั้งใจร่วมกันจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ทุกวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ “วันทรงดนตรี” อยู่คู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดไป
[แก้ไข] ความเป็นมา
        วันทรงดนตรี ถือกำเนิดจาก พระมหากรุณาธิคุณพิเศษที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของจุฬาฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัส แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าทรงเสียพระราชหฤทัยที่ไม่สามารถประทับอยู่ต่อในช่วงเวลาถวายพระสุธารสชาได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ ที่ประชุมจึงพร้อมใจถวายพระพรชัยมงคล และด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ประสูติในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์พระราชทานนามสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ให้มีคำว่า “จุฬา” อยู่ด้วย
        ต่อมาคณะนิสิตได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของขวัญและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตเข้าเฝ้าฯ ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เนื่องจากวันนั้นตรง กับวันศุกร์ ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงดนตรีกับ “วงลายคราม” เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
        ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้นิสิตทำตัวตามสบายไม่เป็นทางการ ให้ถือว่า “อยู่ในบ้านของพระองค์ท่าน” พระองค์ทรงเดี่ยวแซกโซโฟนพระราชทานแก่นิสิต และผู้ขอฟังเพลง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงขอฟังเพลงจากวงดนตรีและให้นิสิตร้องเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” อีกด้วย
        การแสดงดนตรีส่วนพระองค์ในวันนั้นเริ่มเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 18.45 น. นิสิตราว 2,500 คน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนอานันทมหิดลเป็นจำนวน 4,000 บาท หลังจากนั้นจึงพร้อมใจกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วตั้งแถวส่งเสด็จฯ และเปล่งเสียง “ไชโย” ถวายความจงรักภักดี
        ต่อมา ในปี พ.ศ. 2501 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำ “วงลายคราม” ไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร จากนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี เว้นปีที่ทรงมีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย
[แก้ไข] กิจกรรมวันทรงดนตรี
        เพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเผยแพร่และสืบทอดการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในลักษณะวง Big Band ที่หาฟังได้ยาก รวมทั้งรวบรวมเงินสมทบทุนอานันทมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ขึ้นทุกปี
        ในงานจะเริ่มด้วยการบรรยายเรื่อง “พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พร้อมกับเล่าย้อนความทรงจำเกี่ยวกับวันทรงดนตรี นอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการ “วันทรงดนตรี” อีกด้วย ซึ่งการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีเมื่อปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างมาก มีนิสิตเก่าและประชาชนที่สนใจมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง
[แก้ไข] เรื่องเล่าจากความทรงจำวันทรงดนตรี
        สันทัด ตัณฑนันทน์ ประ ธานชมรมดนตรี ส.จ.ม. ปี 2501 เล่าถึงความประทับใจในวันทรงดนตรีในปีนั้นว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานและประทับใจ นิสิตทุกคนตื่นเต้นยินดี เฝ้ารอคอยวันเสด็จพระราชดำเนินด้วยใจจดจ่อ วันเสด็จพระราชดำเนิน น้องใหม่ยืนเข้าแถวรับเสด็จฯ ตั้งแต่ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย จนถึงหน้าหอประชุม นิสิตชายแต่งชุดพระราชทานสวมเสื้อราชปะแตน นิสิตหญิงนุ่งกระโปรงน้ำเงิน สวมถุงเท้าขาว เป็นแถวรับเสด็จฯ ที่งดงามมาก
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เป็นกันเองกับผู้ชมเป็นที่สุด ระหว่างการแสดงดำเนินไป มีผู้ถือพานรับบริจาค เงินสมทบทุนอานันทมหิดล วนเวียนอยู่ในหอประชุมตลอดเวลา ทรงมีรับสั่งว่า “ใครขอเพลงต้องบริจาค มากน้อยไม่เป็นไร เพลงไหนเล่นดีก็จะเล่น ให้ เพลงไหนเล่นไม่ได้ก็จะพยายามเล่น” สร้างความครื้นเครงให้กับผู้เข้าเฝ้าฯ ในวันนั้นเป็นที่สุด
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีรวม 15 ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีได้ และด้วยเหตุที่นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ตลอดจนคณาจารย์เห็นว่า “วันทรงดนตรี” เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯ จึงพร้อมใจกันจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีทุกวันที่ 20 กันยายน เริ่มตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา
        ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ รูปแบบของงานเป็นการขับร้อง และบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเพลงประจำมหาวิทยาลัย โดยนักร้องนักดนตรีวงซี.ยู.แบนด์ พร้อมนักดนตรีรับเชิญกิตติมศักดิ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวงดนตรีสากล ส.จ.ม. หรือวงซี.ยู.แบนด์ในปัจจุบัน ตลอดจนนักร้องรับเชิญซึ่งเคยเฝ้ารับเสด็จฯ ในงานวันทรงดนตรีในอดีตมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย






วันสืบนาคะเสถียร







ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา


นอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (GREENHOUSE EFFECT) ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้ ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก


ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เสนอมาตรการควบคุมไฟป่า โดยให้จัดตั้งหน่วยงานป้องกันไฟป่าขึ้นโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการขอความร่วมมือจัดตั้งหน่วยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตรวจตราป้องกัน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การป้องกันไฟป่าขึ้นโดยด่วน ทั้งนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย ต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85/2542 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าแห่งชาติในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งระดมบุคลากรจากทุกหน่วยงาน เพื่อควบคุมไฟป่า รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชน และอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้จึงได้เสนอร่างโครงการวันปลอดควันพิษจากไฟป่า

ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 เห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันปลอดควันพิษจากไฟป่า”

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันวิทยาศาสตร์เเห่งชาติ








๒๐๐ ปี สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

พระบิดาแห่งวิยาสาสตร์


รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ดาวหางโดนาติและดาวหางเทบบุต (ภาพวาดโดยนายสุชาติ เขียวลายเลิศ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน) 

 
สุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายร่วมกับคณะชาวต่างประเทศ หน้าพลับพลาที่ประทับค่ายหลวง ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม 2411
กิจกรรม

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • ร่วมพิธีวางมาลาและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • จัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ


คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ


วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ

วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์
คนเราที่เกิดมาทุกคนในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่รู้จักคำว่า "แม่"

เพราะแม่เป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้เลี้ยงเฝ้าดูแลเรามาตลอด เป็นผู้รักเรามากกว่าใคร ๆ ที่บอกว่ารักเรา

ไม่ว่าลูกจะทำผิดขนาดไหนแม่ก็ยังให้อภัยแก่ลูกเสมอ บางครั้งลูกทำผิด แม่โกรธ ดุด่า ว่าลูก

แต่แม่ก็ไม่เคยคิดจะทำร้ายลูก ความรักมีหลายรูปแบบ เช่น ความรักของหนุ่มสาว ความรักต่อเพื่อน

ความรักต่อครู-อาจารย์ เป็นต้น แต่ความรักเหล่านี้อาจจะลืมเลือนไปได้โดยง่าย

เพราะมันไม่ใช่ความรักที่แท้จริง เปรียบไม่ได้กับความรักของแม่ที่มีต่อลูก

ซึ่งมีแต่ให้ไม่เคยคิดที่จะได้ตอบแทน คุณของ "แม่" นับว่าเป็นคุณที่ไม่อาจจะตอบแทนได้

นับเป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ กว่าที่แม่จะคลอดเรามาแม่ก็ต้องอุ้มท้องเรามานานนับ 10 เดือน

โดยที่ไม่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการอยู่ในชีวิตประจำวัน พอถึงวันที่คลอด นับแต่วันที่คลอดแม่ก็เฝ้าดูแล

เป็นอย่างดี ไม่ให้ มด ยุง แมลงต่าง ๆ มากัดตัวลูก หาอาหารอย่างดีมาให้ทาน

ไม่เคยเอาสิ่งที่ไม่ดีมาให้ลูกกิน มาถึงทุกวันนี้แม่ก็ยังดูแลเราไม่เคยห่างสายตา เพราะแม่ยังกลัวว่า

ลูกจะหลงผิดทำให้สิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม่ไม่คิดที่จะให้ลูกทำในสิ่งทดแทนคุณ เพราะแม่คือคนที่รักลูกที่แท้จริง

เป็นผู้ที่คิดแต่จะให้ลูกโดยไม่คิดสิ่งตอบแทนที่ได้จากลูก แม่เป็นผู้ที่สั่งสอนลูกมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต

แม่สอนแต่สิ่งที่ดี นับเป็นคุณ "ครู" คนแรกของลูก แม่อาจเป็นทั้ง แม่, เพื่อน และครู ในเวลาเดียวกันได้

ในยามที่ลูกทุกข์แม่ก็คอยปลอบ ในยามที่ลูกผิดแม่ก็คอยสอน ตักเตือน ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

ในยามที่ลูกป่วยไข้ก็มีเพียงแม่เท่านั้นที่เฝ้าดูแลไม่ห่าง ไม่เหมือนคนอื่น

ถ้าเราป่วยเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ เพื่อนคนที่เคยบอกว่ารักเรา เขาอาจจะไม่กล้ามาเยี่ยม

เพราะเขากลัวโรคร้ายนั้นจะติดเขา แต่ผุ้เป็นแม่ไม่ว่าโรคนั้นจะร้ายสักเพียงใดก็ไม่คิดที่จะทอดทิ้ง

ให้ลูกอยู่โดดเดี่ยวมีแต่จะเป็นห่วงลูกเพิ่มขึ้น ลูกยิ่งป่วยหรือเจ็บมากขึ้นเท่าใดผู้เป็นแม่ก็ยิ่งร้อนใจ

เพิ่มขึ้นหลายเท่า แม่ยอมขายที่นา สวน ไร่ เพื่อให้ได้เงินมารักษาลูก เงินไม่พอก็ไปขอยืมเขา

แม้ว่าดอกเบี้ยจะแพงขอเพียงเพื่อได้รักษาให้ลูกได้หาย และมีความสุข แม่ทนทุกข์ยากและลำบาก

ในการทำงาน ตากแดดตัวดำเพื่อให้ลูกชาย หญิง ได้เรียนหนังสือมีความรู้สูงๆ เพื่อไม่ต้องลำบาก

เหมือนแม่ แม่ทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินมาใช้ในครอบครัว และเงินที่ได้มาจากแรงกายของแม่

ส่วนใหญ่ตกไปอยู่ที่ลูก ไม่ว่าลูกจะขอเท่าไรแม่ก็หามาให้ได้เสมอ ลูกสอบเข้าโรงเรียนรัฐบาลไม่ได้ก็ดิ้นรน

ให้ลูกได้เรียนโรงเรียนเอกชน แม้ค่าเล่าเรียนเป็นหมื่นเป็นแสนก็ยอม เพียงแต่ขอให้ลูกได้เรียน

แม่ก็มีความสุข แต่แม่ไม่เคยรู้เลยว่าลูกมาโรงเรียนแล้วเป็นอย่างไร แม่คิดเพียงว่าลูกไปโรงเรียน

คงตั้งใจเรียน และลูกคงเหนื่อย เมื่อลูกกลับถึงบ้านตอนเย็นแม่จะไม่ให้ลูกทำงานบ้านอีก

แต่ลูกบางคนมาโรงเรียนแล้วไม่ได้ตั้งใจเรียนสักเท่าใดเลย แม่ต้องทนลำบากเพื่อให้ลูกได้เรียน

และเพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณของแม่เราต้องตั้งใจเรียนให้สมกับที่แม่ตั้งความหวังเอาไว้

อย่าให้แม่ผิดหวัง แม่แนะนำตักเตือนก็ต้องเชื่อฟังเพราะสิ่งที่แม่พูดเป็นสิ่งที่ดีไม่ผิด

ปัจจุบันนี้ไม่ว่าแม่พูดอะไรผมจึงไม่เคยคิดที่จะขัดใจแม่ เพราะผมรู้ดีว่าสิ่งที่แม่แนะนำตักเตือน

เพราะแม่หวังดี ไม่มีแม่คนไหนที่จะคิดร้ายต่อลูก ลูกมีกี่คนแม่สามารถเลี้ยงดูได้เป็นอย่างดี

ฉะนั้นเราผู้เป็นลูกมีแม่เพียงคนเดียวเราต้องดูแลท่านให้เหมือนที่ท่านเคยดูแลเรามา

และหาสิ่งดีๆมาตอบแทนโดยการตั้งใจเรียนเท่านี้แม่ก็ดีใจมากแล้ว ในยามที่แม่แก่ชรา

ผมรู้ดีว่าคนแก่ชราต้องการอยู่ใกล้ลูกๆ หลานๆ ดังนั้นเราก็ต้องเอาใจใส่แม่ของเราให้มากที่สุด


@แม่ไม่เคยหลอกให้เราหลงรัก
เพราะเราเต็มใจรักแม่โดยไม่ต้องหลง
@แม่อาจเคยตีให้เราเจ็บ แต่ไม่เคยทำให้เราเจ็บหัวใจ
@แม่ส่งเสียเรา แต่เราต้องส่งเสียแฟน
@แม่ไม่เคยบอกเลิก
@แม่เป็นแบงค์ส่วนตัวที่เวลา***้ไม่เคยคิดดอกเบี้ย และไม่ค่อยทวงคืน
@แม่เห็นเราเดินแก้ผ้าตั้งแต่เล็ก โดยไม่เคยติเรื่องรูปร่าง
@แม่เป็นคนที่เห็นเราดีกว่า แฟนของแม่เสมอ
@ขอหอมแม่ไม่ยากเท่าขอหอมแฟน
@แม่ยอมตัดสะดือตัวเองเพื่อให้เราเกิดมา
@แม่สอนให้เราพูดได้ เพื่อจะไปบอกรักแฟนตอนเราโต
@แม่ยอมเป็นยัยอ้วนลงพุงตั้ง 9 เดือน เพื่อให้เราอาศัยอยู่ข้างใน
@และในประเทศนี้ไม่มี "วันแฟนแห่งชาติ" เหมือนวันแม่ใช่มั้ย

เพลงค่าน้ำนม 
ค่าน้ำนม แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่
กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล
เมื่อเล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบ โตโอ้เล็กจนใหญ่
นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

* ควร คิดพินิจให้ดี
ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม
เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวช เรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย
เพลง อิ่มอุ่น
อุ่นใดใดโลกนี้ไม่มีเทียบเทียม
อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตะกอง
รักเจ้าจึงปลูกรักลูกแม่ย่อมห่วงใย
ไม่อยากจากไปไกลแม้เพียงครึ่งวัน

* ให้กายเราใกล้กันให้ดวงตาใกล้ตา
ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพันธ์

อิ่มใดใดโลกนี้ไม่มีเทียบเทียม
อิ่มอกอิ่มใจอิ่มรักลูกหลับนอน
น้ำนมจากอกอาหารของความอาทร
แม่พร่ำเตือนพร่ำสอนสอนสั่ง

**ให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้ามี่พลัง
ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป

***ใช่เพียงอุ่นท้องที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น
อุ่นไอรัก อุ่นละมุน
ขอน้ำนมอุ่นจากอกให้ลูกดื่มกิน


วันสตรีไทย

วันสตรีไทย
                                         

วันสตรีไทย ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 [1] จัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันมหามงคล 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระองค์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อให้คนไทยได้มีอาชีพ และได้พระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคมเป็น "วันสตรีไทย" ของทุกปี เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีโอกาสแสดงถึงความรู้ ความสามารถในการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันสังคม และให้สามารถเทียบเท่าสตรีสากลของหลายประเทศที่เจริญแล้ว
ซึ่งทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการประกาศถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย ประธานาธิบดี เมกาวลี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยกับประเทศ ส่วนในประเทศไทยมีอยู่หลายท่าน เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนาสุนันท์คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ คุณปวีณา หงสกุล
วันสตรีไทยถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีความสามารถทัดเทียมผู้ชาย เป็นที่ยอมรับจากสังคม จะเห็นได้จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนเริ่มมีสตรีเข้าไปเป็นหัวหน้างานมากขึ้น รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการบริหารประเทศชาติ สตรีไทยในยุคปัจจุบัน จึงต้องเป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการ การเป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี พร้อมทั้งต้องก้าวทันกับยุคสมัย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม