วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มหัศจรรย์มะละกอ



มะละกอ

        สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอ

  มะละกอสุก ๆ เนื้อสีส้มแดงนี่แหละขอบอกว่าเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดของความมีประโยชน์ทีเดียว ใครไม่กินก็บอกได้เลยว่า คุณกำลังพลาดของดีชนิดที่สุขภาพไม่น่าให้อภัยเลย มะละกอสุกกินง่ายกว่ามะละกอดิบตั้งเยอะสามารถปอกเปลือกแล้วลำเลียงลงกระเพาะได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการปรุงแต่งแต่อย่างใด เป็นอาหารบริสุทธิ์ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างมาให้เรา ฉะนั้นเรามาว่ากันถึงความอร่อยและมีประโยชน์ของมะละกอกันเลยดีกว่า

นอกจากเนื้อหวาน ๆ แสนอร่อยแล้วทุกส่วนของมะละกอยังสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของมะละกอมีอยู่มากมายตั้งแต่ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี บรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นที่มาของโรคริดสีดวงทวาร ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง

สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอยังเผื่อแผ่ไปถึงเด็กทารกที่ดูดนมมารดาอีก เพราะช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้ เรื่องความสวยงาม มะละกอยังมีเอนไซม์ที่ช่วยบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ใครอยากมีผิวหน้าเนียนขาวนุ่มชุ่มชื่นก็นำมะละกอสุกครึ่งถ้วยผสมกับน้ำผึ้ง แท้ 1 ช้อน นมสดอีก 1 ช้อน ปั่นเข้าด้วยกันเป็นครีมข้น ทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออก เท่านี้ก็เห็นผลทันตาและทันใจทีเดียว

สรรพคุณทางยา

นำผลดิบและผลสุกมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี น้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่วิเศษสุดๆ ถ่ายคล่องเป็นยาระบายได้อย่างดีเยี่ยม นำเนื้อสุกมาปั่น แล้วพอกหน้าทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วล้างออกใบหน้าจะชุ่มชื้นขึ้น
คุณค่าทางอาหาร
  • มะละกอ สามารถนำไปประกอบอาหารต่างๆ ได้อย่างวิเศษมากมายหลายอย่าง
  • มะละกอดิบ ถ้าใช้ทำเป็นอาหารยอดนิยม คงหนีไม่พ้นส้มตำ
  • มะละกอดิบ หั่นเป็นแว่นๆ พอคำ นำไปแกงส้มใส่ปลาช่อนใส่กุ้ง
  • มะละกอสุก นำมาปลอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่น ผสมน้ำตาล และเกลือป่น ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม และเหมาะสำหรับคลายร้อนได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารอย่างมากมาย
  • มะละกอมีเกลือแร่ และวิตามินมาก มีคุณค่าทางอาหารไม่น้อย แคลเซียมในมะละกอช่วยป้องกันฟันผุ วิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน วิตามินเอช่วยในบำรุงสายตาและระบบประสาท และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมาก
     
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพร และพืชผักสวนครัว

เว็บไซต์ lifestyle.kingsolder.com ,elib-online.com


อาหารจากมะละกอ

 

มะละกอ มะละกอ มะละกอ ในครัวของหมอชาวบ้านเดือนนี้เต็มไปด้วยมะละกอทั้งดิบและสุก ตอนแรกเราคุยกันว่าจะทำอาหารจากมะละกอหลายประเภท เพื่อขานรับการแนะนำมะละกอในคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าของคุณเดชา อาหารที่หลายๆ คนช่วยกันนึก (ด้วยความอยากกิน) คือ
  • ส้มตำ
  • แกงส้มมะละกอ
  • แกงเหลืองมะละกอ
  • แกงป่ามะละกอ
แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นร่วมกันว่า อาหารเหล่านี้ชาวหมอชาวบ้านคงกินกันจนเบื่อแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มตำ ซึ่งจะว่าไปแล้วสูตรของใครก็ของคนนั้น เราจึงเปลี่ยนแผนขอเป็นการทำอาหารจากมะละกอที่มักถูกมองข้าม คือ ผัดมะละกอ และมะละกอต้มจิ้มน้ำพริก เพราะเวลาทำอาหารแบบนี้มะละกอมักถูกมองข้ามพืชผักชนิดอื่นมักถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่มะละกอเป็นพืพชผลที่หาได้ไม่ยาก ปลูกไว้ข้างบ้านสักต้นสองต้นก็พอกินได้ตลอดปี ที่สำคัญปลอดสารพิษฆ่าแมลง
คุณอาจจะลองทบทวนดูก็ได้ คุณจะพบว่า คุณมักผัดบวบใส่ไข่หรือใส่กุ้งบ่อยครั้ง แต่คุณแทบจะไม่นึกถึงมะละกอใส่ไข่เลย หรือเวลาคุณหาผักจิ้มน้ำพริก คุณจะนึกถึงชะอมมะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ หรือแม้แต่มะระขี้นก แต่ดิฉันอยากจะบอกคุณว่ามะละกอต้ม (จะราดกะทิหรือไม่ราดก็ได้) จิ้มน้ำพริกนั้นอร่อย ปลอดจากสารพิษ น่าลิ้มลองจริงๆ และเห็นจะขาดไม่ได้คือมะละกอสุกซึ่งกินได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างเยี่ยมยอด แต่หลายๆ คนไม่ชอบกินมะละกอสุก บางคนไม่ชอบกินเพราะเห็นมันเละๆ ดูท่าทางไม่น่าอร่อย
วันนี้ดิฉันมีข้อแนะนำในการปอกมะละกอสุกให้ดูน่ากิน เริ่มต้นดังนี้นะคะ
1. หั่นมะละกอตามขวาง ขนาดพอประมาณ
2. แบ่งเป็นส่วนๆ ถ้าใช้แนวร่องของมะละกอก็จะยิ่งสวย
3.ใช้มีดคมๆ ปอกเปลือกทีละชิ้น (ตามรูป)
เคล็ดลับ คือ พยายามลงมือไถไปเพียงครั้งเดียวในแต่ละขั้น และมือควรจะแห้งและสะอาด ก่อนปอกล้างเปลือกมะละกอให้สะอาด และหาผ้าเช็ดให้แห้งก่อน ลองปอกแบบนี้ดูนะคะ ไม่แน่ว่าคนที่ไม่ชอบมะละกออาจจะเปลี่ยนมาชอบก็ได้ อย่าลืมเก็บเมล็ดมะละกอไว้ปลูกด้วยนะคะ

ขนมเครปมะละกอ

เครปมะละกอ

ส่วนผสม
แป้งเค้ก 100 กรัม
นมสด 250 กรัม
มะละกอสุก, สับปะรด หั่นสี่เหลี่ยมอย่างละ 50 กรัม
ไข่ไก่ 2 ฟอง
เนยละลาย 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
วีธีทำ1. ผสมไข่ นม น้ำตาลทราย เกลือให้เข้ากัน
2. ใส่เนยและแป้งคนให้เข้ากัน ระวังแป้งเป็นเม็ด
3. นำส่วนผสมที่ได้ไปกรองอีกครั้ง
4. ตั้งกระทะแบน ทาเนยเล็กน้อยใช้ไฟอ่อน ตักแป้งใส่กระทะกลอกแป้งให้เป็นผ่นบาง พอด้านหนึ่งเหลืองกลับอีกด้านตักขึ้น
5. ตักน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ใส่กระทะ ไฟอ่อน รอให้น้ำผึ้งหอมยกลง ใส่มะละกอ สับปะรด คลุกให้เข้ากัน ตักขึ้นพักในตู้เย็น พอเย็น
6. เวลารับประทาน ตักไส้ใส่เครป พับเป็นรูปสามเหลี่ยม ใส่จานราดด้วยน้ำผึ้งหรือแยมตามชอบ

สำหรับ 3 ที่เสิร์ฟ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 ที่เสิร์ฟ
พลังงาน 174.875 กิโลแคลอรี
โปรตีน 9.52 กรัม
คาร์โบไฮเครต 12.00 กรัม
ไขมัน 11.8 กรัม
ข้อมูล : ตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ (สำนักพิมพ์แม่บ้าน)



แกะสลักมะละกอ

 

          
 

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วยสร้างชาติ

กล้วย..........................        
                           กล้วย เป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทุกยุคทุกสมัย เพราะทุกส่วนของกล้วยสามารถนำมาใชประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนม ของตกแต่ง กระทง หรือภาชนะ
ถิ่นกำเนิดของกล้วย (First Home)
กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก
สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี

ลักษณะทั่วไป                   
                          
กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร
ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่น ใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์
ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว
ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า
รสชาติ รสฝาด

รูปร่างและลักษณะของกล้วยแต่ละชนิดในประเทศไทย

เนื่องจากกล้วยแต่ละชนิดมีรูปร่างและลักษณะเฉพาะตัว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องแจกแจงให้เกิดความเด่นชัดของกล้วยแต่ละชนิดไว้ดังต่อไปนี้ :
  กล้วยสกุล Musa : มีการแตกหน่อและใช้ผลรับประทานได้
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Callimusa: ที่พบในประเทศไทยขณะนี้มีชนิดเดียว คือ
กล้วยป่าชนิด Musa gracilis Horltt. ชื่ออื่นๆ กล้วยทหารพราน หรือกล้วยเลือด
กล้วยชนิดนี้ มีลำต้นเทียมสูง 0.6 – 2 เมตร โคนต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร กาบและใบมีปื้นสีม่วงเข้ม ใบกว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 90-150 เซนติเมตร สีเขียว มีนวล ก้านใบยาว 30-70 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งยาว 60 เซนติเมตรหรือกว่านั้น ก้านช่อดอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ดอกตัวเมียสีขาวหม่น ปลายสีเขียว ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เรียวชิดกัน 3-8 แถว แถวหนึ่ง มี 2-4 ดอก ใบประดับกว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เวนติเมตร สีม่วงปลายสีเขียว อาจร่วงหลุดไปก่อนบ้าง ดอกตัวผู้สีเหลือง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลตรง สีเขียว มีนวลและมีทางสีม่วงตามยาวของผล ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม 2-3 เหลี่ยม ปลายทู่ ก้านผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีขนประปราย แก่แล้วผิวเกลี้ยง
กล้วยป่าชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ ในท้องที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย ชาวมลายูเรียกว่าปีชังกะแต ปีชังเวก และปีชังโอนิก
 
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Eumusa: ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ
กล้วยป่า ( Musa acuminata Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยแข้ ( เหนือ ). กล้วยเถื่อน ( ใต้ ). กล้วยลิง ( อุตรดิตถ์ ). กล้วยหม่น ( เชียงใหม่ )
กล้วยป่า มี ลำต้นเทียมสูง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นนอกมีปื้นดำ มีนวลเล็กน้อย ส่วนด้านในสีแดง ก้านใบสีชมพูอมแดงมีจุดดำ มีครีบเส้นกลางใบสีเขียว ใบชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ๆ มาก ใบประดับรูปค่อนข้างยาว ปลายแหลมด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงจัด เมื่อใบกางตั้งขึ้นจะเอนไปด้านหลัง และม้วนงอเห็นได้ชัด การเรียงของใบประดับช่อดอกไม่ค่อยช้อนมาก และจะมีลักษณะนูนขึ้นที่โคนของใบประดับ เห็นเป็นสันชัดเจนเมื่อใบประดับหลุดออก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ผลมีก้านและมีขนาดเล็ก รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่ชนิดย่อย (Subspecies) บางชนิดมีผลโค้งงอ บางชนิดไม่โค้งงอ ผลมีเนื้อน้อยสีขาว รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา และแข็ง
กล้วยป่าที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อย (Subspecies) คือ
•  Musa acuminata Colla ssp. siamea Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. burmanisa Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. malaccensis (Ridl.) Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. microcarpa (Becc.) Simmonds
กล้วยเหล่านี้พบว่าขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าดิบ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย กล้วยชนิดนี้ นอกจากขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อแล้ว ยังใช้เมล็ดปลูกได้ ผลของกล้วยป่าเมื่อสุกกินได้ แต่ไม่นิยมเพราะมีเมล็ดมาก ผลอ่อนและหัวปลีรับประทานได้
กล้วยตานี ( Musa balbisiana Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยงู ( พิจิตร ): กล้วยชะนีใน . กล้วยตานีใน . กล้วยป่า . กล้วยเมล็ด ( สุรินทร์ ): กล้วยพองลา ( ใต้ )
กล้วยตานี ลำต้นเทียมสูง 3.5-4 เมตร เว้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร สีเขียว ไม่มีปื้นดำ กาบลำต้นด้านในสีเขียว ก้านใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวไม่มีร่อง ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ใบประดับรูปค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางขึ้นตั้งฉากกับช่อดอกและไม่ม้วนงอ ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10-14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่ มีเหลี่ยมเห็นชัดเจน ลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกแต่ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลเมื่อสุกผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดใหญ่สีดำ ผนังหนา แข็ง
กล้วยตานีที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิด แตกต่างที่ลำต้นเทียมและผล กล่าวคือกล้วยตานีพบทางภาคเหนือนั้น ลำต้นเทียมเกลี้ยงไม่มีปื้นดำเลย ผลจะสั้น ป้อม ส่วนตานีอีสานจะมีลำต้นเทียมที่มีประดำเล็กน้อย ผลคล้ายกล้วยน้ำว้า แต่ตานีทางภาคใต้ ลำต้นเทียมค่อนข้างจะมีปื้นดำหนา ผลคล้ายตานีเหนือแต่นาวกว่า และมีสีเขียวเป็นเงา นอกจากนี้ยังได้มีการนำตานีดำมาจากฟิลิปปินส์ แต่ตานีดำนี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองของอินโดนีเซีย ลำต้นเทียมสีม่วงดำและเส้นกลางใบสีม่วงดำสี
เข้มมากจนดูเหมือนสีดำ ผลสีเขียวเข้มเป็นมันมีลักษณะคล้ายตานีใต้ มีเมล็ดมาก
 
กล้วยหก ( Musa itinerans Cheeseman) , กล้วยแดง ชื่ออื่น ๆ กล้วยอ่างขาง
กล้วยหกเป็นกล้วยป่าอีกชนิดหนึ่งใน section Eumusa ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลืองมีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเหลืองอ่อน ก้านในสีเขียวอมเหลืองและมีประเล็กน้อยมีปีก เส้นกลางใบสีเขียวก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ ปลายมน ด้านบนสีเหลืองอมม่วงเข้ม ไม่มีนวล ด้านล่างสีครีม แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึกและมีสันตื้นเมื่อใบประกอบหลุด เครือหนึ่งมี 5-7 หวี หวีหนึ่งมี 9-13 ผล ผลป้อม ปลายทู่ โคนเรียว ก้านผลยาวเกือบเท่าความยาวของผล เนื้อสีเหลืองและมีเมล็ด
กล้วยหกมีผลสีเขียวผลเล็ก ส่วนกล้วยแดงมีผลใหญ่กว่านิดหน่อยและเปลือกสีแดงพบมากในทางภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก และที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ปลีรับประทานได้
 
สำหรับกล้วยกินได้ มีดังนี้

กล้วยไข่ ‘Kluai Khai' ชื่ออื่น ๆ กล้วยกระ ชื่อสามัญ Pisang Mas
กล้วยไข่มีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็กน้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีมอมส้ม รสหวาน
กล้วยไข่ปลูกกันมากเป็นการค้าที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ เพชรบุรี และปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้านในทุกภาคของประเทศไทย เพราะเป็นกล้วยที่รสชาติดี และใช้ในเทศกาลสารทไทย ผลรับประทานสด และเป็นเครื่องเคียงของข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท นอกจากนี้ยังใช้ทำกล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด และกล้วยบวชชี ปัจจุบันกล้วยไข่เป็นสินค้าออกที่ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่นและฮ่องกง

กล้วยไข่ทองร่วง ‘Kluai Khai Thoung Roung']
มีความสูงไม่เกิน 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำปานกลาง พื้นด้านในมีสีแดงเรื่อ ๆ ปน ก้านใบเปิด มีสีแดงปนค่อนข้างชัดเจน
พู่ ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม ใบประดับม้วนขึ้น ด้านนอกสีม่วงแดง มีนวลปานกลาง ด้านในซีดเล็กน้อย กลีบรวมเดี่ยวใสและมีรอยย่น ส่วนกลีบรวมใหญ่สีครีม ปลายสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เมื่อสุกมีผิวสีเหลือง ก้านช่อดอกมีขน เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมีมากกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล น้ำหนักผลหนักประมาณ 87 กรัม มีรสหวาน เมื่อสุกเต็มที่ผลมักร่วง
 
กล้วยเล็บมือนาง ‘Kluai Leb Mu Nang' ชื่ออื่น ๆ กล้วยข้าว . กล้วยเล็บมือ ( สุราษฎร์ธานี ): กล้วยทองดอกหมาก ( พัทลุง ) กล้วยหมาก ( นครศรีธรรมราช )
กล้วยเล็บมือนางมีลำต้นสูงเทียมไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านในสีชมพูอมแดง ใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาว ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด ดอกตัวผู้หลุดร่วงไปหลังจากใบประดับร่วง ดอกตัวผู้มีสีครีม ดอกตัวเมียสีชมพูอ่อน ปลายสีเหลือง ก้านเกสรตัวเมียตรง เกสรตัวผู้มีความยาวกว่าเกสรตัวเมีย กลีบรวมใหญ่มีสีเหลืองอ่อน ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ปลายหยัก เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร รูปโค้งงอปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอม เนื้อในสีเหลือง รสหวาน
กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร ปัจจุบันปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้าน เพราะเป็นกล้วยที่มีรสชาติดีชนิดหนึ่ง

กล้วยหอมจันทร์ ‘Kluai Homchan'
กล้วยหอมจันทร์มีลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครื่องหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 9-11 เซนติเมตร รูปคล้ายกล้วยเล็บมือนาง แต่ปลายผลไม่เรียวแหลม มีจุกสั้นเมื่อเทียบกับขนาดของผล ก้านผลสั้น เปลือกหนากว่ากล้วยเล็บมือนาง เมื่อสุกมีสีเหลืองคล้ายกัน กลิ่นหอมเย็น เนื้อสีเหลือง รสหวาน
กล้วยหอมจันทร์ปลูกทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่ปลูกในสวนหลังบ้าน และปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้
 
กล้วยไล ‘Kluai Lai'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำปานกลาง มีไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพูปน ก้านใบเปิดกว้างมีปีกเล็กน้อยและมีสีเขียว ปนชมพู เส้นก้านใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขน เครืออกชี้ทางด้านข้าง ส่วนปลีห้อยลง ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีสีม่วงเข้ม ไม่มีไข ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลขนาดเล็ก ผลเมื่อสุกมีสีส้มอมเหลือง รสหวาน
 
กล้วยสา ‘Kluai Sa'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดดำประน้ำตาลเข้มมากและมีนวลปานกลาง ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีนวลมากมีสีม่วงแดงเข้ม ทั้งด้านล่างและขอบใบ ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับมีรูปไข่ รูปร่างยาวปลายแหลม เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีมากกว่า 8 หวี หวีหนึ่งมี 18-22 ผล ผลมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ผลหนึ่งหนัก 80-90 กรัม
 
กล้วยทองขี้แมง ‘Thong Khi Meew'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.0 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดประสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก และมีนวลมาก ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีสีเขียวมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้น ใบประดับมีสีแดงเทาไม่มีไข กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ดอกตัวผู้และตัวเมียมี ใบประดับมีรูปร่างเรียวยาว ปลายแหลม ด้านในสีซีด ดอกตัวเมียมีความสูงมากกว่าดอกตัวผู้ เครือกล้วยชี้ไปทางด้านข้างรวมทั้งปลี เครือหนึ่งมี 7 หวี หวี หนึ่งมี 10-16 ผล ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีเมล็ด
 
กล้วยทองกาบดำ ‘Kluai Thong Kab Dam'
ลำต้นเทียมมีความสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 15 เซนติเมตร มีประดำปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกและมีสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย เครือออกทางด้านข้างขนานกับพื้นดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านเครือมีขน ปลีมีรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีไขปานกลาง สีม่วงเข้ม ปลีม้วนขึ้น เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมีผลไม่เกิน 16 ผล ผลสุกสีเหลืองอมส้ม ผลมีขนาดไม่ใหญ่
 
กล้วยน้ำไท ‘Klaui Nam Thai'
กล้วยน้ำไทมีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำหนา ที่โคนมีสีชมพูอมแดง ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีกสีชมพู เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง ด้านล่างสีซีด เครือหนึ่งมีประมาณ 5 หวี หวีหนึ่งมี 12-18 ผล ผลคล้ายกล้วยหอมจันทร์ ขนาดใกล้เคียงกัน กว้าง 2 –2.05 เซนติเมตร ยาว 10-11 เซนติเมตร ผลไม่งอโค้งเท่ากล้วยหอมจันทร์ มีหัวจุกใหญ่แต่เล็กกว่าหอมจันทร์ ที่ปลายจุกมักมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ เปลือกหนากว่าหอมจันทร์ มีกลิ่นหอมเย็น เมื่อสุกสีเหลืองเข้มกว่ากล้วยหอมจันทร์และมีจุดดำเล็ก ๆ คล้ายจุดของกล้วยไข่ กลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน

กล้วยน้ำนม ‘Klaui Nam Nom'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านในสีเขียว มีไขมาก ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพูเล็กน้อย เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกขนานกับพื้นดินส่วนปลีห้อยลง ก้านเครือมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว สีแดงอ่อน ปลายแหลม มีไขปานกลาง ใบประดับม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี ประมาณ 10 ผล
 
กล้วยหอมสั้น ‘Kluai Hom Son'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำและไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกทางด้านข้างขนานกับดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม สีม่วงเข้ม ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าแต่รูปร่างเหมือนกล้วยไข่ รสหวาน
กล้วยกวน
เครื่องปรุง
กล้วยหอมสุกงอม 1 หวี
น้ำตาลปึก 3 คู่
กะทิคั้น ข้น ๆ 2 ถ้วย
วิธีทำ
 กล้วยปอกเปลือกบดละเอียด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกันกะทิข้น ๆ และน้ำตาลปึก
 ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ กวนจนเหนียวดี รู้สึกว่าร่อนไม่ติดกะทะก็ยกลง พอจวนจะเย็นก็ปั้นเป็นก้อน ๆ ห่อกระดาษแก้ว หรือใส่ถาดตัดเป็นชิ้น ๆ


กล้วยตากอบน้ำผึ้ง
เครื่องปรุง
กล้วยน้ำว้าสุกงอม
น้ำตาล
น้ำผึ้ง
น้ำส้ม
วิธีทำ
  เลือกกล้วยน้ำว้าสุกงอม แกะเปลือกออกแช่ในน้ำส้ม 1 ส่วน ผสมน้ำ 4 ส่วน ประมาณ 10 นาที
•  นำกล้วยไปตากแดด 1 วัน
•  วันรุ่งขึ้นนำกล้วยมาคลึงให้นิ่มทั่วกัน แล้วตากแดดต่ออีก 1 วัน
•  แช่น้ำเชื่อมอัตราส่วน น้ำตาล 1 ถ้วยต่อน้ำ 2 ถ้วย 3 ชั่วโมง
•  นำกล้วยไปตากแดดต่อ และคอยกลับ จนออกสีน้ำตาล นำมาทับให้แบน
•  แช่ในน้ำผึ้งบรรจุขวด หรือชุบน้ำผึ้งแล้วตากแดดอีก 1 แดด บรรจุใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงไว้ หรือจะเก็บใส่ขวดโหลไว้รับประทาน


ข้าวเม่าทอด
เครื่องปรุง
ข้าวเม่าดิบ ? กิโลกรัม
แป้งข้าวโพด ? กิโลกรัม
แป้งข้าวจ้าว ? กิโลกรัม
กล้วยไข่ 2 หวี
น้ำตาลปีบและเกลือเล็กน้อย
มะพร้าวขูด ? กิโลกรัม
หางกะทิ 6 ถ้วย
น้ำปูนใส 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย ? ถ้วย

วิธีทำ
 ทำแป้งสำหรับชุบตัวข้าวเม่า เอาแป้งข้าวโพดผสมกับแป้งข้าวเจ้า ค่อย ๆ เติมหางกะทิจนหมด ใส่น้ำปูนใส น้ำตาลทรายและเกลือลงไป คนให้เข้ากัน พักไว้
 ทำเครื่องห่อกล้วย เอามะพร้าวมาคลุกกับข้าวเม่าดิบและน้ำตาลปีบ คลุกให้เข้ากันดี
 กล้วยไข่ปอกเปลือก แล้วเอามาห่อด้วยเครื่องข้าวเม่าบาง ๆ พอติด จึงเอาไปชุบแป้ง ลงทอดในน้ำมันท่วม จนสุกพอเหลือง


เค้กกล้วยน้ำว้า
เครื่องปรุง
มาการีนหรือเนย ? ถ้วย
น้ำตาลทรายป่น 1 ถ้วย
ไข่ไก่ 2 ฟอง
แป้งสาลี 2 ถ้วย
( ร่อน 2 ครั้งก่อนตวง )
ผงฟู ? ช้อนชา
โซดาไบคาร์บอเนต ? ช้อนชา
กล้วยน้ำว้าสุก สับหยาบ ๆ 4 ผล ( 1 ถ้วย )
วานิลา 1 ช้อนชา
นมเปรี้ยว ? ถ้วย
( ใช้นมสด ? ถ้วย ผสมน้ำส้มสายชู ? ช้อนชา )
วิธีทำ
คนเนยพอแยกจากกันไม่เป็นก้อน ใส่น้ำตาลทีละน้อยคนให้น้ำตาลกับเนยหรือมาการีนเป็นครีม ใส่ไข่ทีละฟองคนให้ทั่วและเข้ากัน กล้วยน้ำว้าเมื่อสับแล้วผสมลงในนมเปรี้ยวทันที มิฉะนั้นกล้วยจะดำเพราะถูกกับอากาศ ( กล้วยใช้มีดหั่นเป็นชิ้นหยาบ ๆ ดีกว่าบดเพราะได้กินเค้กกล้วยที่เห็นกล้วยเป็นชิ้น ๆ เล็ก ๆ และกล้วยควรจะเป็นสีชมพู เมื่อเค้กสุกแล้วไม่ควรจะเป็นสีดำ อย่างน้อยควรสีเหมือนกล้วยต้มสุกก็ยังดีกว่าสีดำ ) ใส่แป้งลงในครีมสลับกับกล้วยจนหมดทั้งแป้งและกล้วย ใส่วานิลาคนให้ทั่วใช่กระทงกระดาษวางในถาดหลุม 24 กระทง ตักขนมใส่กระทงครึ่งหนึ่งของกระทง อบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณ 25 นาที ขนมจะสุกเหลือง นูนตรงกลางเต็มกระทง เอาขนมออกจากเตา ตักขนมออกจากถาดทั้งกระทง รับประทานขณะที่อุ่น ๆ อร่อยมาก


น้ำพริกกล้วยดิบ

เครื่องปรุง
กล้วยน้ำว้าดิบ 12-15 ผล
กุ้งนางแกะเปลือกเผาพอสุกหั่นเป็นชิ้น 250-280 กรัม
กุ้งแห้งอย่างดีป่น 150-180 กรัม
พริกขี้หนูสวนบุบพอแตกหั่นซอยหยาบ 60-70 กรัม
น้ำตาลปีบ 3-5 ช้อนโต๊ะ

กระเทียมปอกเปลือก 60-80 กรัม
มันกุ้งที่ได้จากหัวกุ้งนำไปนึ่งจนสุก 3-4 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาอย่างดี 6-7 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 6-8 ช้อนโต๊ะ

วิธีปรุง
 นำกล้วยดิบปอกเปลือกหั่นซอยบาง ๆ แช่น้ำมะขามไม่ให้ดำ พอสะเด็ดน้ำจึงนำไปโขลกเบา ๆ กับกระเทียม พริกขี้หนู ใส่กุ้งแห้งป่น โขลกต่อจนเข้ากัน  แล้วจึงใส่กุ้งเผาหั่นซอย ใช้สากคลึงเบา ๆ พอเนื้อน้ำพริกเข้ากันเนื้อกุ้งเผา จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ชิมให้รสทั้ง 3 คลอ ๆ กัน เปรี้ยวนำนิดหน่อยได้  เสร็จแล้วตั้งกะทะใส่น้ำมันพืชพอประมาณ ผัดน้ำพริกจนสุกหอม
 น้ำพริกกล้วยดิบ รับประทานกับผักสดต่าง ๆ เช่น ผักกาดขาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ขมิ้นขาว จะเคียงด้วยไข่ต้มก็เข้ากันดี


เค้กกล้วยหอมช็อกโกแลต
ส่วนผสม
ไข่ไก่ 3 ฟอง
แป้งเค้ก 200 กรัม
ผงโกโก้ ? ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 200 กรัม
เบคกิ้งโซดา ? ช้อนชา
เนยสด 80 กรัม
กล้วยหอมบดละเอียด ? ถ้วยตวง
น้ำเปล่า ? ถ้วยตวง
SP 2 ช้อนชา
ส่วนผสมหน้าเค้ก
ช็อกโกแลตตุ๋นสำเร็จรูป 300 กรัม

วิธีทำ
  ตีไข่ไก่ กล้วยหอม น้ำตาลทรายจนกระทั่งขึ้นฟู
•  ร่อนแงเค้ก เบคกิ้งโวดา ผงโกโก้รวมกัน
•  เติมส่วนผสมของแป้งลงในไข่ที่ตีจนขึ้นฟูแล้ว ผสมให้เข้ากัน เทลงในพิมพ์ที่รองด้วยกระดาษไขประมาณ ? พิมพ์ นำเข้าเตาอบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮด์ นานประมาณ 40-50 นาทีหรือจนกระทั่งสุก แซะออกจากพิมพ์ทิ้งให้เย็น
•  นำช็อกโกแลตไปตุ๋นในน้ำร้อนจนกระทั่งช็อกโกแลตละลาย เติมเนยสด คนให้เข้ากัน นำไปราดบนเค้กที่เย็นสนิทแล้วตกแต่งด้วยกล้วยหอมด้านบนให้สวยงาม

                                    
                      
กล้วยกับความเชื่อของคนไทย

ความเชื่อเรื่องกล้วยของคนไทยมีอยู่มากมาย เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างเนิ่นนานแล้ว ในหญิงมีครรภ์มักไม่รับประทานกล้วยแฝดเพราะมีความเชื่อว่าจะได้ลูกแฝด แต่ถ้าบ้านไหนอยากได้ลูกแฝดก็รับประทานกล้วยแฝด
สำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนถ้ารับประทานแกงหัวปลี จะมีน้ำนมมาก ถ้าคิดตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว หัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมากนั้นเอง
ต้นกล้วยที่ขาวเนียนสะอาด ไม่มีกาบใบแห้ง มักเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของนางพรายตานี เป็นผีผู้หญิง ที่มีหน้าตาสวยงาม ผิวขาว จะปรากฏตัวตอนกลางคืน โดยยืนอยู่ใต้ต้นกล้วยนั้นๆ
ในด้านยาอายุวัฒนะ หากนำกล้วยแช่น้ำผึ้งปิดไหแล้วใช้ปูนแดงทาก่อนฝาปิด จากนั้นเอาไว้ใต้ฐานพระในวันเข้าพรรษา ปล่อยไว้นานสามเดือน ก็สามารถนำมารับประทานได้ ทั้งนี้ก็เป็นแนวคิดด้านการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งด้วย
ในงานมงคลมักมีกล้วยเข้ามาร่วมเกี่ยวในพิธีด้วย เช่น กล้วยทั้งเครือ กล้วยดิบ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง และความสงบร่มเย็น
ในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคฝีดาษ มีแผลพุพอง ก็มักให้นอนบนใบกล้วยเพราะจะทำให้น้ำเหลืองไม่ติดกับเสื้อผ้าบังเกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย ส่วนการประหารชีวิตนั้น ก่อนลงมือประหารจะมีการนำใบกล้วยมาปูรองก่อน เพื่อกันเลือดไหลลงไปบนดิน เป็นต้น

ความเชื่อเรื่องกล้วยของชาวต่างชาติ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์แบบย่อของกล้วยว่า Musa กล่าวกันว่า Musa มาจากคำภาษาอาหรับว่า Muz ก็มีรากเดิมมาจากคำสันสกฤตว่า Mocha อีกทอดหนึ่งซึ่งหมายถึงกล้วย
เหมือนกัน อีกกระแสหนึ่งที่ฟังดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบอกว่า Musa เป็นชื่อตั้งตามหมอชาวอาหรับในสมัยโรมัน คือ Antonius Musa ผู้นำกล้วยจากอินเดียมากจากอินเดียมาปลูกในถิ่น
ทางเหนือของอียิปต์ ก่อนหน้าที่ฝรั่งจะเรียกกล้วยว่า Banana อย่างเป็นเอกฉันท์ กล้วยถูกเรียกว่า Plantain ตามคำภาษาสเปนว่า Plantano ซึ่งอาจมีรากมาจากคำลาตินว่า Planta ที่
แปลว่าใบกว้าง (spreading leaf) นอกจากนั้นฝรั่งเศสและอิตาลีเคยเรียกกล้วยว่า "fig" โดยมาจากคำเต็ม ๆ ว่า figue d Adam หรือ fico d Adamo ซึ่งอาจแปลได้ว่า "มะเดื่อของอาดัม"
อาดัมนี่คือ (อาดัมกับอีฟในตำนานสร้างโลกของศาสนาคริสต์) ส่วน fig น่าจะหมายถึงใบมะเดื่อที่อาดัมใช้ปิดอวัยวะเพศของตน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีที่ใช้คำนี้อยู่คือ
banana fig แต่นี่หมายถึงกล้าวยตากโดยเฉพาะส่วนคำ Banana ในปัจจุบันเรียกตามภาษาแอฟริกาตะวันตกซึ่งอาจมีตากจากคำภาษาอาราเบียว่า Banan ซึ่งหมายถึงนิ้วมือ
หรือนิ้วเท้าในสังคมไทย กล้วย ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบแสดงถึงคุณลักษณะทำได้ง่าย เช่นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก หรือเรื่องกล้วยกล้วย แต่ในสังคมตะวันตกยุค
บริโภคนิยม ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบเป็นสัญลักษณ์กามารมณ์ โดยเฉพาะอวัยวะเพศผู้ชายเช่นสโลแกนโฆษณาว่า unzip a banana นอกจากนั้นยังมีที่ใช้ banana ในภาษาพูดอัน
หมายถึงอาการ บ้า หรือ เพี้ยน ฝรั่งเองก็ยังสืบค้นไม่ได้ว่า บ้าจะเกี่ยวข้องกับบานานาได้อย่างไรกล้วยในเอเชียใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งจริยธรรม คุณความดี ความงาม
ความเจริญงอกงามในหมู่ชาวอาหรับถือว่ากล้วยเป็นพันธุ์ไม้แห่งสวรรค์ หรือพันธุ์ไม้แห่งปัญญา ที่รู้แยกแยะความดีกับความเลว ตำนานอินเดียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้ของผู้มีปัญญา
โดยเล่าขานถึงฤาษีในดงกล้วย ผู้กินกล้วยเป็นอาหารจนเกิดกำลังและปัญญาเป็นที่อัศจรรย์ หลายประเทศในเอเชียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้สำหรับเซ่นสังเวยผีและเทวดา ตลอดจน
ผู้มีพระคุณของไทยเรา กล้วยเป็นของที่ขาดไม่ได้ใน ตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาคุณ หมอตำแยที่มาทำคลอดให้ กล้วยทั้งหวีเป็นของเซ่นเทวดาและบรรพบุรุษในพิธีเซ่นไหว้อย่างคนจีน
น้ำชาและผลไม้เป็นเครื่องเซ่นพื้นฐานและผลไม้เครื่องเซ่นที่ขาดเสียมิได้ก็คือส้มสีทองและกล้วยทั้งหวี ขนมกล้วยเป็นขนมที่พบได้ประจำในพิธีหมั้นพิธีแต่งงานของชาวไทยสมัยก่อน เพราะกล้วยหมายถึงความเจริญงอกงาม ได้ผลดกดื่นเหมือนกล้วยในแทบทุกชนชาติของเอเชีย ยังมีเหตุผลความเชื่อลึก ๆ ว่ากล้วยเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและการเจริญเติบโต ข้อนี้เป็นความเชื่อที่ถูกต้องเพระเด็กในสังคมเมืองทั่วโลกในปัจจุบันก็เติบโตโดยอาศัยกล้วยแปรรูป หรือพิวรี (banana puree) มาใช้ผสมเป็นอาหารเด็กจนได้ชื่อว่า "เด็กยุคพิวรีกล้วย" อยู่แล้ว (the pureed-banana generation)

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันโอโซนโลก


ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น
เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน 3 อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ

วันศลป์ พีระสรี

วันที่ 15 กันยายน เป็น วันศิลป พีระศรี  ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri) บุรุษผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย เป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นทั้งศิลปินและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่วงการศิลปะไทย ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิต ผลงาน และแนวคิดของท่านนอกจากจะคงค่าในตัวเองแล้ว ยังสะท้อนภาพหลายประการถึงอุปสรรคของการพัฒนาศิลปะในยุคที่ท่านยังมีชีวิต อยู่
          ปกติแล้ว วันที่ 15 กันยายน ในสมัยที่ศาสตราจารย์ศิลป์ ยังมีชีวิตอยู่ จะถือเป็นวันที่ศิษย์โรงเรียน ศิลปศึกษาทุกคนต่างรอคอย เพราะคือโอกาส การได้ร่วมงานวันเกิด ของผู้เป็นครูศิลป์ ที่บ้านพัก ของท่าน ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน ศาสตราจารย์ศิลป์ จะอยู่ร่วมงาน เล่านิทาน ร้องเพลง และหยอกล้อกับศิษย์ดังปฏิบัติต่อลูกหลาน
          จวบจนปัจจุบัน วิทยาลัยช่างศิลป สำนึกในบุญคุณของท่านผู้ริเริ่มวางรากฐาน และก่อตั้งวิทยาลัย ช่างศิลป จึงได้จัดกิจกรรมรำลึกศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในวันเกิดของท่านคือ วันที่ 15 กันยายน มาตลอดทุกปี และตั้งเป็นวัน "ศิลป์ พีระศรี" เพียงแต่วันนี้ไร้ ร่างเจ้าของวันเกิด เหลือไว้ก็แต่คำสอน และสถานศึกษาศิลปะ ตลอดจนคุณความดีที่ไม่มีใครลืม “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”
 


ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri)  

ประวัติศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
          ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย
      
          เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม เมื่อปีพ.ศ.2441ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับ ปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม

          ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้น รูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติ ราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนาย คอร์ราโด เฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง
      
          เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 เมื่ออายุย่างเข้า32 ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาทค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาในปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆละ 900 บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ

          ท่านได้วางหลัก สูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆส่วนมากสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเพาะ- ช่างได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และ แช่ม แดงชมพู
      
          ผู้ที่มาอบรมฝึกงานกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่ง เสริมช่างปั้นช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
      
          ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทาง ราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป

          ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ.2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขา หนึ่งของชาติ
     
       จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือพระยาอนุมานราชธนดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก ดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับปริญญา ขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
      
          ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะ ที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม
      
          ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติ คือ เป็น ประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับ สมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติ ครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วม สมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคน แรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น

          ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี





วันทรงดนตรีไทย



   

วันที่ 20 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งสำหรับชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระปฐมบรมราชูปถัมภ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แล้ว วันดังกล่าวยังตรงกับ “วันทรงดนตรี” ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีในระหว่างปี 2500-2516 บรรยากาศแห่งความทรงจำที่ประทับใจในครั้งนั้น ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของนิสิตเก่าชา    วันที่ 20 กันยายน เป็นวันสำคัญวันหนึ่งสำหรับชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระปฐมบรมราชูปถัมภ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แล้ว วันดังกล่าวยังตรงกับ “วันทรงดนตรี” ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีในระหว่างปี 2500-2516 บรรยากาศแห่งความทรงจำที่ประทับใจในครั้งนั้น ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของนิสิตเก่าชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสืบสาน สู่นิสิตปัจจุบันที่ตั้งใจร่วมกันจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ทุกวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ “วันทรงดนตรี” อยู่คู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดไป
[แก้ไข] ความเป็นมา
        วันทรงดนตรี ถือกำเนิดจาก พระมหากรุณาธิคุณพิเศษที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของจุฬาฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัส แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าทรงเสียพระราชหฤทัยที่ไม่สามารถประทับอยู่ต่อในช่วงเวลาถวายพระสุธารสชาได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ ที่ประชุมจึงพร้อมใจถวายพระพรชัยมงคล และด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ประสูติในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์พระราชทานนามสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ให้มีคำว่า “จุฬา” อยู่ด้วย
        ต่อมาคณะนิสิตได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของขวัญและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตเข้าเฝ้าฯ ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เนื่องจากวันนั้นตรง กับวันศุกร์ ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงดนตรีกับ “วงลายคราม” เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
        ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้นิสิตทำตัวตามสบายไม่เป็นทางการ ให้ถือว่า “อยู่ในบ้านของพระองค์ท่าน” พระองค์ทรงเดี่ยวแซกโซโฟนพระราชทานแก่นิสิต และผู้ขอฟังเพลง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงขอฟังเพลงจากวงดนตรีและให้นิสิตร้องเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” อีกด้วย
        การแสดงดนตรีส่วนพระองค์ในวันนั้นเริ่มเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 18.45 น. นิสิตราว 2,500 คน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนอานันทมหิดลเป็นจำนวน 4,000 บาท หลังจากนั้นจึงพร้อมใจกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วตั้งแถวส่งเสด็จฯ และเปล่งเสียง “ไชโย” ถวายความจงรักภักดี
        ต่อมา ในปี พ.ศ. 2501 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำ “วงลายคราม” ไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร จากนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี เว้นปีที่ทรงมีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย
[แก้ไข] กิจกรรมวันทรงดนตรี
        เพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเผยแพร่และสืบทอดการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในลักษณะวง Big Band ที่หาฟังได้ยาก รวมทั้งรวบรวมเงินสมทบทุนอานันทมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ขึ้นทุกปี
        ในงานจะเริ่มด้วยการบรรยายเรื่อง “พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พร้อมกับเล่าย้อนความทรงจำเกี่ยวกับวันทรงดนตรี นอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการ “วันทรงดนตรี” อีกด้วย ซึ่งการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีเมื่อปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างมาก มีนิสิตเก่าและประชาชนที่สนใจมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง
[แก้ไข] เรื่องเล่าจากความทรงจำวันทรงดนตรี
        สันทัด ตัณฑนันทน์ ประ ธานชมรมดนตรี ส.จ.ม. ปี 2501 เล่าถึงความประทับใจในวันทรงดนตรีในปีนั้นว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานและประทับใจ นิสิตทุกคนตื่นเต้นยินดี เฝ้ารอคอยวันเสด็จพระราชดำเนินด้วยใจจดจ่อ วันเสด็จพระราชดำเนิน น้องใหม่ยืนเข้าแถวรับเสด็จฯ ตั้งแต่ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย จนถึงหน้าหอประชุม นิสิตชายแต่งชุดพระราชทานสวมเสื้อราชปะแตน นิสิตหญิงนุ่งกระโปรงน้ำเงิน สวมถุงเท้าขาว เป็นแถวรับเสด็จฯ ที่งดงามมาก
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เป็นกันเองกับผู้ชมเป็นที่สุด ระหว่างการแสดงดำเนินไป มีผู้ถือพานรับบริจาค เงินสมทบทุนอานันทมหิดล วนเวียนอยู่ในหอประชุมตลอดเวลา ทรงมีรับสั่งว่า “ใครขอเพลงต้องบริจาค มากน้อยไม่เป็นไร เพลงไหนเล่นดีก็จะเล่น ให้ เพลงไหนเล่นไม่ได้ก็จะพยายามเล่น” สร้างความครื้นเครงให้กับผู้เข้าเฝ้าฯ ในวันนั้นเป็นที่สุด
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีรวม 15 ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีได้ และด้วยเหตุที่นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ตลอดจนคณาจารย์เห็นว่า “วันทรงดนตรี” เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯ จึงพร้อมใจกันจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีทุกวันที่ 20 กันยายน เริ่มตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา
        ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ รูปแบบของงานเป็นการขับร้อง และบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเพลงประจำมหาวิทยาลัย โดยนักร้องนักดนตรีวงซี.ยู.แบนด์ พร้อมนักดนตรีรับเชิญกิตติมศักดิ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวงดนตรีสากล ส.จ.ม. หรือวงซี.ยู.แบนด์ในปัจจุบัน ตลอดจนนักร้องรับเชิญซึ่งเคยเฝ้ารับเสด็จฯ ในงานวันทรงดนตรีในอดีตมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสืบสาน สู่นิสิตปัจจุบันที่ตั้งใจร่วมกันจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ทุกวันที่ 20 กันยายน เพื่อให้ “วันทรงดนตรี” อยู่คู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดไป
[แก้ไข] ความเป็นมา
        วันทรงดนตรี ถือกำเนิดจาก พระมหากรุณาธิคุณพิเศษที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของจุฬาฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัส แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าทรงเสียพระราชหฤทัยที่ไม่สามารถประทับอยู่ต่อในช่วงเวลาถวายพระสุธารสชาได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ ที่ประชุมจึงพร้อมใจถวายพระพรชัยมงคล และด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ประสูติในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชประสงค์พระราชทานนามสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ให้มีคำว่า “จุฬา” อยู่ด้วย
        ต่อมาคณะนิสิตได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของขวัญและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตเข้าเฝ้าฯ ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เนื่องจากวันนั้นตรง กับวันศุกร์ ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงดนตรีกับ “วงลายคราม” เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
        ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้นิสิตทำตัวตามสบายไม่เป็นทางการ ให้ถือว่า “อยู่ในบ้านของพระองค์ท่าน” พระองค์ทรงเดี่ยวแซกโซโฟนพระราชทานแก่นิสิต และผู้ขอฟังเพลง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงขอฟังเพลงจากวงดนตรีและให้นิสิตร้องเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” อีกด้วย
        การแสดงดนตรีส่วนพระองค์ในวันนั้นเริ่มเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 18.45 น. นิสิตราว 2,500 คน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนอานันทมหิดลเป็นจำนวน 4,000 บาท หลังจากนั้นจึงพร้อมใจกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วตั้งแถวส่งเสด็จฯ และเปล่งเสียง “ไชโย” ถวายความจงรักภักดี
        ต่อมา ในปี พ.ศ. 2501 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำ “วงลายคราม” ไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร จากนั้นทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี เว้นปีที่ทรงมีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย
[แก้ไข] กิจกรรมวันทรงดนตรี
        เพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อเผยแพร่และสืบทอดการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในลักษณะวง Big Band ที่หาฟังได้ยาก รวมทั้งรวบรวมเงินสมทบทุนอานันทมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ขึ้นทุกปี
        ในงานจะเริ่มด้วยการบรรยายเรื่อง “พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พร้อมกับเล่าย้อนความทรงจำเกี่ยวกับวันทรงดนตรี นอกจากนี้ ยังจัดนิทรรศการ “วันทรงดนตรี” อีกด้วย ซึ่งการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีเมื่อปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างมาก มีนิสิตเก่าและประชาชนที่สนใจมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง
[แก้ไข] เรื่องเล่าจากความทรงจำวันทรงดนตรี
        สันทัด ตัณฑนันทน์ ประ ธานชมรมดนตรี ส.จ.ม. ปี 2501 เล่าถึงความประทับใจในวันทรงดนตรีในปีนั้นว่าบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานและประทับใจ นิสิตทุกคนตื่นเต้นยินดี เฝ้ารอคอยวันเสด็จพระราชดำเนินด้วยใจจดจ่อ วันเสด็จพระราชดำเนิน น้องใหม่ยืนเข้าแถวรับเสด็จฯ ตั้งแต่ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย จนถึงหน้าหอประชุม นิสิตชายแต่งชุดพระราชทานสวมเสื้อราชปะแตน นิสิตหญิงนุ่งกระโปรงน้ำเงิน สวมถุงเท้าขาว เป็นแถวรับเสด็จฯ ที่งดงามมาก
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เป็นกันเองกับผู้ชมเป็นที่สุด ระหว่างการแสดงดำเนินไป มีผู้ถือพานรับบริจาค เงินสมทบทุนอานันทมหิดล วนเวียนอยู่ในหอประชุมตลอดเวลา ทรงมีรับสั่งว่า “ใครขอเพลงต้องบริจาค มากน้อยไม่เป็นไร เพลงไหนเล่นดีก็จะเล่น ให้ เพลงไหนเล่นไม่ได้ก็จะพยายามเล่น” สร้างความครื้นเครงให้กับผู้เข้าเฝ้าฯ ในวันนั้นเป็นที่สุด
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีรวม 15 ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีได้ และด้วยเหตุที่นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ตลอดจนคณาจารย์เห็นว่า “วันทรงดนตรี” เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯ จึงพร้อมใจกันจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีทุกวันที่ 20 กันยายน เริ่มตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา
        ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ รูปแบบของงานเป็นการขับร้อง และบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเพลงประจำมหาวิทยาลัย โดยนักร้องนักดนตรีวงซี.ยู.แบนด์ พร้อมนักดนตรีรับเชิญกิตติมศักดิ์ ซึ่งเป็นสมาชิกวงดนตรีสากล ส.จ.ม. หรือวงซี.ยู.แบนด์ในปัจจุบัน ตลอดจนนักร้องรับเชิญซึ่งเคยเฝ้ารับเสด็จฯ ในงานวันทรงดนตรีในอดีตมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย






วันสืบนาคะเสถียร







ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา


นอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (GREENHOUSE EFFECT) ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้ ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก


ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เสนอมาตรการควบคุมไฟป่า โดยให้จัดตั้งหน่วยงานป้องกันไฟป่าขึ้นโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการขอความร่วมมือจัดตั้งหน่วยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตรวจตราป้องกัน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การป้องกันไฟป่าขึ้นโดยด่วน ทั้งนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย ต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85/2542 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าแห่งชาติในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งระดมบุคลากรจากทุกหน่วยงาน เพื่อควบคุมไฟป่า รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชน และอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้จึงได้เสนอร่างโครงการวันปลอดควันพิษจากไฟป่า

ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 เห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันปลอดควันพิษจากไฟป่า”